การเติบโตของอีสปอร์ต เพราะคนรุ่นใหม่ใช้เกมทำเงิน
การเติบโตของอีสปอร์ต เมื่อพูดถึงกีฬาฟุตบอล เราจะสามารถเห็นภาพการแข่งขันที่มีมูลค่าสูง มีคนติดตามอยู่ทั่วโลก มีสปอนเซอร์บนชุดแข่ง นักฟุตบอลชื่อดังเป็นพรีเซ็นเตอร์ (Brand Presenter) ของสินค้าต่าง ๆ เราต่างเห็นความภูมิใจของนักฟุตบอลของแต่ละชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ได้เป็นตัวแทนของชาติ นักเตะในสนามเหล่านั้น หลายคนเป็นเด็กที่เตะฟุตบอลข้างถนนกับเด็กละแวกบ้าน จนไปเข้าตาแมวมองและได้รับการฝึกฝนจนเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ที่มีรายได้หลายล้านบาทต่อ 1 สัปดาห์
ด้วยความเป็นยุคออนไลน์ที่การเล่นเกมไม่ใช่แค่เพียงความสนุกอีกต่อไป แต่ทุก ๆ คนที่มีความสามารถจริงจะนำเกมเหล่านี้ไปสร้างเงิน สร้างอาชีพ มีรายได้ให้กับตนเองจริง พัฒนาการของกีฬาอีสปอร์ตจนถึงปัจจุบัน โดยสิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่า กีฬาอีสปอร์ต เชื่อว่าคนทั้งรุ่นใหม่ รุ่นเก่าเองยังอาจสงสัยว่าคำ ๆ นี้คืออะไร แล้วมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน ลองศึกษารายละเอียดพร้อมเปิดใจไปพร้อม ๆ กันได้เลย ติดตามข่าวบอลและกีฬาต่างๆได้ฟรีอ่านได้ทุกวัน
E-sports คืออะไร การเติบโตของอีสปอร์ต
หากแปลกันตรงตัว กีฬาอีสปอร์ต คือ การแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic sports โดยมีการตั้งกฎ กติกาขึ้นมาให้เป็นระบบสากล ใครที่เข้าแข่งขันจะต้องปฏิบัติตามกฎดังกล่าวเหมือนกีฬาทั่ว ๆ ไป สามารถเข้าแข่งขันได้ทั้งประเภททีมและประเภทบุคคล (ขึ้นอยู่กับการจัดแข่งในทัวร์นาเมนต์นั้น ๆ) ซึ่งประเภทของเกมที่ใช้แข่งขันก็มีหลากหลาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ มือสมัครเล่น, กึ่งอาชีพ และแบบมืออาชีพ โดยในการแข่งขันแต่ละทัวร์นาเมนต์จะมีเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะพร้อมถ่ายทอดสดผ่านโลกออนไลน์ไปยังผู้ที่สนใจรับชมทั่วโลกอีกด้วย
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี 2563 (ซึ่งต้องเลื่อนการแข่งขันมาเนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะเขียนบทความนี้คาดว่าจะแข่งขันในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2564) และในปี 2567 ได้มีการพูดคุยกันเรื่องการบรรจุกีฬาอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาแข่งขันด้วย
แม้ว่า การเติบโตของอีสปอร์ต ยังไม่ได้รับการจัดให้เป็นกีฬาที่แข่งขันในโอลิกปิก รอบปี 2563 แต่ปัจจุบันมีการจัดแข่งขันเป็นลีก (League) อาชีพอยู่ในหลายระดับ โดยมีผู้จัดที่มีชื่อเสียงคือ บริษัท ESL (Electronic Sport League) ที่ทำหน้าที่ผู้จัดการแข่งขันที่มีกติกา รูปแบบการแข่งขัน และการถ่ายทอดสดอย่างเป็นระบบ
หรืออีกตัวอย่างคือ สมาคมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์โลก (World Esports Association หรือ WESA) ที่เกิดจาก ESL ร่วมกับทีม กีฬาอีสปอร์ต หลายทีมจัดตั้งสมาคมขึ้นเป็นพื้นที่กลางของผู้เล่น มีการกำหนดกติกา รวมทั้งจัดสรรรายได้ให้แก่ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นระบบ
จากมูลค่าที่มากขนาดนี้ ทำให้บริษัท e-Sport ที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน e-Sport ในเกมต่าง ๆ มีมูลค่าสูงมากเช่นกัน จากรายงานของ World Economic Forum ได้ประเมินมูลค่าบริษัท e-Sport ชั้นนำในปี 2563 ไว้ในหลักร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เช่น บริษัท Team SoloMid (TSM) มีมูลค่าสูงถึง 410 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยอันดับที่ 2 และ 3 อย่าง Cloud9 (350 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ Team Liquid (310 ล้านเหรียญสหรัฐ) นั่นสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรม e-Sport ในตอนนี้มีมูลค่าสูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
e-Sport เติบโตมากขึ้น จึงมีบริษัทที่พัฒนาและผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องออกมามากมาย
การเติบโตของอีสปอร์ต ทั้งบริษัท K-swiss ผู้ผลิตรองเท้าแบรนด์ดังจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้ออกผลิตภัณฑ์รองเท้าสำหรับการเล่น e-Sport เน้นความเบา ใส่สบาย และไม่ร้อนเท้า รวมทั้งเข้าไปสนับสนุนบริษัท e-Sport อย่าง MIBR หรือยักษ์ใหญ่อีกเจ้าอย่าง Nike ที่เข้าไปเซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุน (Sponsor) ของ TJ Sports จนถึงปี 2565 นอกจากนี้ ทั้ง Adidas Puma และแบรนด์ใหญ่อื่น ๆ ก็ทยอยเข้ามาสนับสนุนเครื่องแต่งกายแก่นักกีฬาของทีมต่าง ๆ อีกด้วย
แม้ยังมีข้อถกเถียงว่า e-Sport จะนับเป็นกีฬาได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยก็คงปฏิเสธได้ยากว่า หากมีฝีมือการเล่นเกมที่เก่งจริง พัฒนาการของกีฬาอีสปอร์ตจนถึงปัจจุบัน ก็สามารถสร้างรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ดีมากเลยทีเดียว จากเว็บไซต์ esportsearnings.com ได้จัดอันดับรายได้ของผู้เล่น กีฬาอีสปอร์ต เอาไว้ โดยอันดับหนึ่ง คือ Johan Sundstein ชาวเดนมาร์กที่มีรายได้รวมจากเกมถึง 6,974,817.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 218 ล้านบาท) ซึ่งแม้แต่ผู้เล่นที่อยู่อันดับ 50 อย่าง Vladimir Minenko ชาวยูเครนก็มีรายได้รวมมากถึง 1,621,823.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 50 ล้านบาท)
สำหรับคนไทยที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในเกมยอดนิยมระดับโลก เช่น Dota 2, Arena of Valor หรือ PLAYERUNKNOWN’S BATTLEGROUNDS Mobile ก็สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้มากมาย เช่น คนไทยที่ได้รายได้มากที่สุดคือ เจ้าของ ID ‘Jabz’ คุณ Anucha Jirawong (อนุชา จิระวงศ์) ที่สามารถทำรายได้ไปกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐ
เปรียบเทียบอุตสาหกรรม E-sports กับธุรกิจกีฬาอื่น ๆ
เมื่อ การเติบโตของอีสปอร์ต ไม่ใช่แค่เกมแต่มันลายเป็นเรื่องธุรกิจ ดังนั้นอุตสาหกรรมประเภทนี้จึงเกิดการเปรียบเทียบกับธุรกิจกีฬาประเภทอื่นๆ ว่ามีด้านไหนบ้างที่ท้าทาย สร้างผลกำไร เกิดการขาดทุนขึ้น มาลองแยกแยะเป็นข้อๆได้เลย
งบประมาณในการลงทุนที่สูงพอ ๆ กับธุรกิจกีฬาบางประเภท
สำหรับการทำธุรกิจ e-sports ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องใช้เงินลงทุนที่มหาศาลเช่นกันเพื่อปั้นนักกีฬาสักคน หรือสักทีมให้ประสบความสำเร็จ ไม่ต่างจากวงการกีฬาหลายอาชีพ โดยเฉพาะฟุตบอลที่เป็นกีฬายอดนิยมของคนไทย ซึ่งงบประมาณทั้งค่าตัวนักกีฬา, การฝึกซ้อม, สถานที่เก็บตัว ฯลฯ ทุกอย่างล้วนเป็นเงินทุนทั้งสิ้น และการได้รับผลประโยชน์ก็จะมาจากเงินรางวัลแข่งขัน, สปอนเซอร์ ดังนั้นคนที่คิดจะเข้ามาในธุรกิจนี้ต้องวางแผนให้ดี
ความสนใจของผู้คน
ยุคนี้คนเริ่มให้ความสนใจติดตามชม กีฬาอีสปอร์ต กันมากขึ้น ซึ่งเอาเข้าจริงน่าจะเยอะกว่ากีฬาหลายๆ ประเภทในบ้านเราด้วยซ้ำ ในส่วนของตัวนักกีฬาเองหากเล่นเก่ง มีหน้าตาดี ก็สามารถเป็นคนที่แฟนๆ ในวงกว้างชื่นชอบได้เหมือนกัน ดังนั้นหากเทียบกันคนที่ทำธุรกิจแนว e-sports จะได้กลุ่มคนแม้เป็นเฉพาะทางแต่ก็มีจำนวนมากทีเดียว
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนต้องมี
อย่างที่บอกว่า e-sports ก็เหมือนกับธุรกิจกีฬาอื่นๆ เมื่อมีนักกีฬาคุณก็ต้องเกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ พัฒนาการของกีฬาอีสปอร์ตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่รวมถึงการสมัครเข้าแข่งขันที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ค่าเดินทาง, ค่าอุปกรณ์ การบริหารบุคลากร ฯลฯ เรียกว่าจัดตั้งในรูปแบบบริษัทชัดเจน มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ต้องรับผิดชอบกันพอสมควรทีเดียว
การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง
ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเป็นเรื่องปกติ แต่กับ e-sports ก็ยังคงถือว่ามีความเสี่ยงสูงพอตัวเช่นกัน ยกตัวอย่างผลประกอบการของบางทีม บางบริษัท เช่น อีสปอร์ต เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของทีม Alpha แม้รายได้เข้ามาถึง 23.14 ล้านบาท แต่ก็แจ้งขาดทุนมาที่ 18.42 ล้านบาท ในปี 2561 ซึ่งการลงทุนไม่ใช่แค่กับทีมอย่างเดียว แต่อาจยังต้องลงทุนเพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น เช่น เป็นสปอนเซอร์การแข่งขันในบางรายการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การหาเงินจึงต้องคอยพึ่งสปอนเซอร์เหมือนกับธุรกิจกีฬาอื่นๆด้วยเช่นกัน
แต่ทั้งหมดทั้งมวลจะว่าไปหากไม่นับเฉพาะธุรกิจกีฬาฟุตบอล แต่เป็นกีฬาอื่นๆ เช่น บาสเกตบอล, วอลเล่ย์บอล, เทนนิส, แบดมินตัน ฯลฯ อาจยังไม่ได้มีศักยภาพที่แข็งแรงมากนัก ทั้งเรื่องสปอนเซอร์ การลงทุน คนที่เข้ามาชม ดังนั้นหากมองในช่วงเวลานี้ธุรกิจ e-sports จึงถือว่าน่าสนใจ และน่าลงทุนมากทีเดียว
หลักสูตร e-sports ในระดับมหาวิทยาลัย
ด้วยความนิยมของ การเติบโตของอีสปอร์ต จึงทำให้ในเวลานี้มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยหลายแห่งเปิดหลักสูตรสอนกันแบบชัดเจน จบออกมาหางานทำได้จริง โดยมหาวิทยาลัยชื่อดังของบ้านเราที่มีเปิดการเรียนการสอน e-sports เช่น
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกมและ E-Sport
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ E-Sport
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม หลักสูตรเกมและอินเทอร์แอคทีฟ
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาการพัฒนาสื่อประสมและเกม
สำหรับมหาวิทยาลัยต่างประเทศก็มีบางแห่งที่เปิดให้เรียนในหลักสูตร e-sports ด้วย ถือว่าน่าสนใจมาก ๆ อาทิ
- Staffordshire University
- Shenandoah University
- University of Wiscousin – Stout