e-sportคืออะไร กีฬาอีสปอร์ต (eSports) ทำความรู้จักกับกีฬาประเภทนี้ อาชีพที่คนมักเข้าใจผิดว่าเป็น พวกเด็กติดเกม!

e-sportคืออะไร การแข่งขันกีฬา อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic sports มีการสร้างกฏกติกาขึ้นมา ให้เป็นระบบสากล แบ่งเป็นประเภททีมและประเภทบุคคล E-sport ย่อมาจากคำว่า (Electronic Sports) เป็นกีฬาอิเลคโทรนิคส์ ที่กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก ซึ่งเป็นการพัฒนาจาก การเล่นเกมแบบเดิมๆ ที่ต้องมีการแข่งขัน การเพื่อชัยชนะซึ่งกีฬาชนิดนี้

เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การสร้างทีมแข่งขัน ไม่ได้หยุดอยู่ที่เพียง กีฬาปกติเท่านั้น แต่ยังมาถึงในวงการเกมอีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย นักกีฬา อุปกรณ์กีฬา (เมาส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง หรืออื่น ๆ) โดยใช่ คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ชนิดต่าง ๆ เป็นสนามแข่งขัน และใช้โลกของไซเบอร์เป็นโลกแห่งการแข่งขัน e-sportคืออะไร

ซึ่งปัจจุบันได้มีทีมกีฬา และการแข่งขัน eSports เกิดขึ้นมากมายในระดับโลก เช่น World Cyber Games championship ซึ่งเปรียบได้กับ โอลิมปิคของเกม และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งรายการเหล่านี้ มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ อะไรบ้าง ทำให้เกิดอาชีพใหม่ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแคสเตอร์

ก็คือคนที่แคสเกม หรือรีวิวเกมในขณะที่กำลังเล่นไปด้วย ก่อให้เกิดรายได้อีกหนึ่งทาง เพราะมีคนเข้าชมจำนวนมาก หรือการเป็นนักกีฬา eSports อย่างจริงจังก็ถือเป็นอาชีพ ที่คนอยากเป็นเยอะมาก คำอธิบายสั้นๆ ของคำว่า E-sportคือ การรวมกันระหว่าง ‘การเล่นเกม’ และ ‘การแข่งขันกีฬา’ โดยที่ E-sport มีโครงสร้างเหมือนการ

จัดการแข่งขันกีฬาทั่วไป คือ มีโปรแกรมการแข่งขัน มีผู้เล่นสองฝั่งทำการแข่งขันกัน ต่างเพียงแค่กีฬาที่นำมา ใช้ในการแข่งขัน คือ เกมออนไลน์ นั่นเอง การเล่นเกมไม่จำเป็นจะต้อง เป็นเรื่องที่เสียเวลาและไร้สาระเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนๆนึงตั้งใจฝึกฝนทักษะ ในการเล่นเกมออนไลน์ ด้วยความมุ่งมั่นสู่การเป็นนักกีฬาE-sportระดับโลก

e-sportคืออะไร

e-sportคืออะไร เกมส์การแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์อีสปอร์ต นักกีฬา Esport มีรายได้จากช่องทางใดบ้าง?

1. เงินรางวัลจากการแข่งขัน เหมือนกีฬาชนิดอื่นๆ ที่แต่ละโปรแกรมการแข่งขัน จะมีเงินรางวัลให้กับผู้ชนะตามลำดับ ลดหลั่นกันไป โดยเงินรางวัลสูงสุดในโปรแกรมการแข่งขันE-sport ของอเมริกานั้น มีมูลค่าสูงถึง $200,000 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 6.2 ล้านบาทเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การจะก้าวไปสู่จุดที่ได้รับการยอมรับในวงการได้นั้น เราจำเป็นจะต้องชนะอย่างน้อยสักโปรแกรมการแข่งขันระดับนานาชาติก่อน เพื่อจะได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันในโปรแกรมถัดไปได้ง่ายขึ้น

2. เงินเดือนทั่วไป สามารถมีรายได้ประจำเหมือนกับอาชีพอื่นเช่นกัน หากอยู่ภายใต้ต้นสังกัดที่ชัดเจน โดยจากการสำรวจของ Esportsearnings.com พบว่า  ปัจจุบัน เกมเมอร์ระดับมืออาชีพมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ $1,000 – $5,000 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 30,000 – 150,000 บาทต่อเดือน และสำหรับเกมเมอร์ตัวท็อปอาจแตะได้มากถึง$15,000 หรือ 450,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

3. โบนัส นอกจากเงินเดือนที่ได้เป็นประจำแล้ว เกมเมอร์ยังจะได้รับเงินโบนัส โดยเฉพาะเมื่อคว้าชัยชนะ ในการแข่งขันต่างๆมาได้ เมื่อทีมชนะ พวกเขามักจะได้รับการกล่าวถึง ในแวดวงเกมเมอร์อื่น รวมไปถึงสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ นั้นจะช่วยสร้างมูลค่าให้กับ ทั้งเกมเมอร์และ ต้นสังกัดในเชิงธุรกิจได้ดียิ่ง กีฬาอิเล็กทรอนิกส์

4. สปอนเซอร์ ปัจจุบันได้มีบริษัท และองค์กรมากมาย ที่มองเห็นโอกาสในการเติบโต ทางธุรกิจของ กีฬาE-sport และพร้อมจะสนับสนุนเกมเมอร์ เพื่อสร้าง Brand Awareness ให้กับสินค้าของพวกเขาในตลาดกลุ่มใหม่ ซึ่งเกมเมอร์ทุกคนมักจะมี แจ็คเกตหรือเครื่องประดับบางอย่าง ที่มาจากสปอนเซอร์ของพวกเขาเสมอ

5. สตรีมมิ่ง เป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งของเหล่าเกมเมอร์ โดยเกมเมอร์แต่ละคนก็มีวิธีสร้างสรรค์การนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะทดลองเล่นเป็นตัวละครในเกมให้ชม หรือบางคนก็อาจจะถนัดในการทำ Tutorial แต่ไม่ว่าจะสร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบไหน หากมีผู้ติดตามเขามากขึ้น รายได้จากการสตรีมมิ่งก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

เกมส์การแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์อีสปอร์ต ประเภทที่ใช้แข่งขันมีอะไรบ้าง? จบ E-Sport ทำงานอะไรได้บ้าง?

ประเภทที่ใช้แข่งขัน มี 3 ระดับ คือ มือสมัครเล่น, กึ่งอาชีพ และแบบมืออาชีพ  ออกมาแข่งขันกัน ตั้งแต่ระดับภูมิภาค จนถึงระดับโลก โดยแต่ละทัวร์นาเมนต์ (เวทีแข่งขัน) ก็จะมีเงินรางวัลให้สำหรับผู้ชนะ พร้อมถ่ายทอดสดผ่านโลกออนไลน์ทั่วโลก

เนื่องจากE-Sport มีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น ทั้งประชาชนทั่วไป หรือแม้แต่นักลงทุนก็จะหันมาลงทุนในด้านนี้และให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขันในแต่ละครั้ง มูลค่าของเงินรางวัลในการแข่งขันแต่ละครั้งก็จะเพิ่มมากขึ้น

ผู้ที่มีทักษะความชำนาญในกีฬาชนิดนี้ ก็สามารถประกอบอาชีพจากความรู้ที่ได้รับมาในการเรียนสาขาE-Sport อาทิเช่น ผู้จัดการแข่งขัน ผู้จัดการทีม ผู้จัดจำหน่ายและให้บริการเกม หลักการแคสติ้ง นักวางแผนเกม ฯลฯ เกมส์การแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์อีสปอร์ต

กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ทำให้การเล่นเกมเป็นเรื่องไร้สาระอีกต่อไป ทำไมต้องเรียนE-Sport?

ปัจจุบัน E-Sport เป็นที่นิยมและผู้มีสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่ยังขาดทักษะความชำนาญในการที่จะเป็นนักกีฬามืออาชีพ อีกทั้งไม่มีการจำกัดเพศหรืออายุของผู้เล่น การเลือกเรียนสาขาE-Sport จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกมเมอร์ทั้งหลาย ที่รักในการเล่นเกมและอยากสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวจากการเล่นเกม

ทำให้การเล่นเกมไม่ใช่ เรื่องไร้สาระอีกต่อไป ในจุดนี้หลายคนต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่เกมเมอร์จะได้เงินทุกคน เพราะไม่ใช่เด็กติดเกม หรือคนชอบเล่นเกมทุกคน จะได้เป็นเกมเมอร์ หรือ อาชีพคนเล่นเกม เพราะการจะเป็นนักกีฬา หรือ เป็นอาชีพได้ ต้องมีทักษะ มีการฝึกฝนจนชำนาญ ที่มากกว่าแค่ชอบเล่นเพื่อความสนุก ดูบอลออนไลน์

และต้องมีการไปสมัครแข่งขัน คัดเลือก เหมือนประเภทกีฬาอื่นๆก่อน อย่างที่บอกถ้าจะเก่งก็ต้องเรียน ต้องฝึกฝน ไม่แพ้อาชีพอื่นๆ และตอนนี้เริ่มจะเป็นที่ยอมรับมากขึ้น มีหลักสูตรสอน e-sports ในประเทศไทยหลายแห่ง อาทิเช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกมและE-Sport

มหาวิทยาลัย สวนสุนันทา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิชาการจัดการ E-Sport / มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม หลักสูตรเกมและอินเทอร์แอคทีฟ / มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม เป็นต้น

เด็กไทยหลายคนฝันอยากเป็น เกมเมอร์ E – Sports สร้างรายได้หลักล้าน เกมจะไม่ใช่แค่เล่น แต่สามารถสร้างเงินได้จริง

คณะกรรมการกีฬาอาชีพ ได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษารับรองให้ “ชนิดกีฬาอีสปอร์ต” เป็นกีฬาอาชีพ อย่างเป็นทางการ นักกีฬาจะมีสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ เหมือนๆนักกีฬาชนิดอื่นๆ เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเสมือนเป็นการเปิดทาง แห่งความฝันของน้องๆ หนูๆหลายคน ที่คิดอยากเดินบนเส้นทางนี้ ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เป็นอาชีพที่มั่นคงในอนาคตได้ ซูเปอร์สตาร์มวยไทย

สำหรับคนไทยที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในเกมยอดนิยมระดับโลก เช่น Dota 2, Arena of Valor หรือ PLAYERUNKNOWN’S BATTLEGROUNDS Mobile ก็สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้มากมาย เช่น คนไทยที่ได้รายได้มากที่สุดคือ เจ้าของ ID ‘Jabz’ คุณ Anucha Jirawong (อนุชา จิระวงศ์) ที่สามารถทำรายได้ไปกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐ (ราว 15 ล้านบาท)